วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

S W O T การส่งออกอุตสาหกรรมแผนวงจรไฟฟ้าของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น

จุดแข็ง
   * ราคาและอุปกรณ์ของแผนวงจรไฟฟ้ามีราคาที่ถูก
   * ต้นทุนของการผลิตแผนวงจรไฟฟ้าที่ถูก
   * แผนวงจรไฟฟ้าที่ผลิตมีคุณภาพทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีความมั้นใจ มีการสั่งซื้อวงจรไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
 
จุดอ่อน
   * กำลังการผลิตและบุคลากรมีจำนวนที่น้อย
   * ไทยยังพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก โดยเฉพาะเวเฟอร์วงจรรวม

โอกาส
  *   ตลาดอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงส่งผมให้เครื่องใช้ไฟฟ้่าและแผนวงจรไฟฟ้ายังเป็นที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่น
  *  ไทยยังมีการส่งออกแผนวงจรไฟฟ้าไปยังญี่ปุ่นเป็น ลำดับที่3
  *   ยังมีการต่ออายุโครงการ  Eco Points ซึ่ง เป็นโครงการทีมอบคะแนนให้กับผู้ซื้อสินค้าประหยัดพลังงานและสามารถนำคะแนนดังกล่าวมาใช้แลกซื้อสินค้าอีกทอดหนึ่งได้
 
อุปสรรค
  *  มีการแข่งขันการตลาดที่รุนแรงจากต่างประเทศ
  * คู่แข่งขันจาก จีน  ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การส่งออกของอุตสาหกรรม ของประเทศ

แผงวงจรไฟฟ้า
      มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.6 จากการส่งออกไปยังฮ่องกงที่ยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 63.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าไปยังตลาดหลายตลาดมีการปรับหดตัวในเดือน เม.ย. อาทิเช่น ตลาดอาเซียนมีการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ 13.6
  ประเทศที่ส่งออกหลัก (ฮ่องกง 25.6%) (สิงคโปร์ 12.7%) (ญี่ปุ่น 12.1%) (จีน10.2%)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 

      ในเดือนเม.ย. มีมูลค่าการส่งออก 1,403.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในหลายตลาด โดยการส่งออกในตลาดสำคัญอย่าง สหภาพยุโรป (27) อาเซียน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 24.8, 21.8, 21.3 และ 13.9 ตามลำดับ

เครื่อง อิเลคทรอนิกส์ 
      ในเดือนเม.ย. มีมูลค่าการส่งออก 2,049.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยะ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวชะลอลงอย่างมากจากในเดือนมีนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 46.7 โดยสินค้าหลักในกลุ่มอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.3 จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีน สหรัฐฯ และอาเซียนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3, 22.9 และ 14.9 ตามลำดับ
   ที่มา http://www.thailandindustry.com/home/news_preview.php?id=11241&section=23

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำ วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

    กิโมโน (着物) เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนราวราชวงศ์ถัง ซึ่งถ้าจะนับไปแล้วมีมากกว่าพันปี เรียกได้ว่าเกิดพร้อมๆ กับการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
       ยุคที่กิโมโนรุ่งเรื่อง เริ่มมีการดัดแปลงให้มีกิโมโนหลากหลายแบบมากขึ้น และเริ่มมีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย มีการแบ่งแยกชัดเจนในเรื่องของสีสันและรูปแบบตามสถานะทางสังคม จนต่อมาในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1858) กิโมโนได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้ง เริ่มมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น โดยเฉพาะผ้าคาดเอวที่เรียกว่า "โอบิ" นั้นมีการดัดแปลงและเพิ่มวิธีการผูกแบบใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากมาย ทำให้การสวมใส่กิโมโนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย กลายเป็นชุดประจำชาติที่สง่างาม


                                    ที่มา     http://im-maze23.exteen.com/20081225/entry-1 

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของ การค้าระหว่างประเทศ


ความหมายของ
การค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
        1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2.
ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3.
ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง






การตลาดระหว่างประเทศ
คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ดังนั้นนักการตลาดที่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาดระหว่างประเทศจึงควรตอบคำถามพื้นฐานดังต่อไปนี้ ก่อนจะดำเนินการใดๆ ในตลาดระหว่างประเทศ
1.ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้คุณค่าที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาในรูปของสินค้าหรือบริการสามารถนำเสนอต่อตลาดระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
2. ธุรกิจต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อตลาดระหว่างประเทศ
3. อุปสรรคและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในตลาดระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
 
ที่มา www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc


ความแตกต่างระหว่างการค้าประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศก็คือ
                 *การค้าระหว่างประเทศจะมุ่งแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการระหว่างประเทศ แต่การตลาดระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นแต่การหากำไรทางธุรกิจจากสินค้าและบริการที่ประเทศหนึ่งไปหาผลประโยชน์กับอีกประเทศหนึ่ง
 ๕การค้าระหว่างประเทศมีการแบ่งส่วนทางการค้าระหว่างประเทศต่อกันคือ ประเทศไหนมีความถนัดหรือความสามารถอะไรก็จะผลิตสินค้าหรือการบริการอันนั้น ไม่แย่งส่วนแงทางการค้าต่อกัน แต่การตลาดระหว่างประเทศมีการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดต่อกัน เพราะการตลาดระหว่างประเทศเป็นเหมือนการแข่งขันกันเพื่อที่จะมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด