วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ

 ฟูจิ 
1. ด้านผุ้บริโภค ควรศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอย่างชัดเจน เพราะในแต่ละภูมิภาคมีความต้องการและความชอบที่แตกต่างกัน
2. ควรมีการสร้างจุดเด่นเพื่อดึงดูดใจให้กับผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการ และให้ผู้บริโภคประทับใจในบริการมากที่สุด
3. ควรมีการควบคุมและดูแลวัตถุดิบไม่ให้มีความแตกต่าง หรือมีความแตกต่างน้อยที่สุด กับสาขาอื่นๆที่อาจอยู่ต่างภูมิภาคหรือสถานที่กัน
 เอ็มเค 
1. การที่เอ็มเคไปเปิดตลาดในต่างประเทศ ควรศึกษาความต้องการในด้านต่างๆของผู้บริโภค เช่น ประชากรศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม รายได้ของประชากร การศึกษา อายุ
2. เอ็มเคควรมีการควบคุมคุณภาพอาหาร ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับตลาดต่างประเทศ 

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

S W O T การส่งออกอุตสาหกรรมแผนวงจรไฟฟ้าของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น

จุดแข็ง
   * ราคาและอุปกรณ์ของแผนวงจรไฟฟ้ามีราคาที่ถูก
   * ต้นทุนของการผลิตแผนวงจรไฟฟ้าที่ถูก
   * แผนวงจรไฟฟ้าที่ผลิตมีคุณภาพทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีความมั้นใจ มีการสั่งซื้อวงจรไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
 
จุดอ่อน
   * กำลังการผลิตและบุคลากรมีจำนวนที่น้อย
   * ไทยยังพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก โดยเฉพาะเวเฟอร์วงจรรวม

โอกาส
  *   ตลาดอุตสาหกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจึงส่งผมให้เครื่องใช้ไฟฟ้่าและแผนวงจรไฟฟ้ายังเป็นที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่น
  *  ไทยยังมีการส่งออกแผนวงจรไฟฟ้าไปยังญี่ปุ่นเป็น ลำดับที่3
  *   ยังมีการต่ออายุโครงการ  Eco Points ซึ่ง เป็นโครงการทีมอบคะแนนให้กับผู้ซื้อสินค้าประหยัดพลังงานและสามารถนำคะแนนดังกล่าวมาใช้แลกซื้อสินค้าอีกทอดหนึ่งได้
 
อุปสรรค
  *  มีการแข่งขันการตลาดที่รุนแรงจากต่างประเทศ
  * คู่แข่งขันจาก จีน  ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การส่งออกของอุตสาหกรรม ของประเทศ

แผงวงจรไฟฟ้า
      มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.6 จากการส่งออกไปยังฮ่องกงที่ยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 63.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าไปยังตลาดหลายตลาดมีการปรับหดตัวในเดือน เม.ย. อาทิเช่น ตลาดอาเซียนมีการส่งออกหดตัวที่ร้อยละ 13.6
  ประเทศที่ส่งออกหลัก (ฮ่องกง 25.6%) (สิงคโปร์ 12.7%) (ญี่ปุ่น 12.1%) (จีน10.2%)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 

      ในเดือนเม.ย. มีมูลค่าการส่งออก 1,403.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในหลายตลาด โดยการส่งออกในตลาดสำคัญอย่าง สหภาพยุโรป (27) อาเซียน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 24.8, 21.8, 21.3 และ 13.9 ตามลำดับ

เครื่อง อิเลคทรอนิกส์ 
      ในเดือนเม.ย. มีมูลค่าการส่งออก 2,049.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยะ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวชะลอลงอย่างมากจากในเดือนมีนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 46.7 โดยสินค้าหลักในกลุ่มอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.3 จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีน สหรัฐฯ และอาเซียนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3, 22.9 และ 14.9 ตามลำดับ
   ที่มา http://www.thailandindustry.com/home/news_preview.php?id=11241&section=23

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำ วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

    กิโมโน (着物) เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนราวราชวงศ์ถัง ซึ่งถ้าจะนับไปแล้วมีมากกว่าพันปี เรียกได้ว่าเกิดพร้อมๆ กับการก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
       ยุคที่กิโมโนรุ่งเรื่อง เริ่มมีการดัดแปลงให้มีกิโมโนหลากหลายแบบมากขึ้น และเริ่มมีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย มีการแบ่งแยกชัดเจนในเรื่องของสีสันและรูปแบบตามสถานะทางสังคม จนต่อมาในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1858) กิโมโนได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้ง เริ่มมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น โดยเฉพาะผ้าคาดเอวที่เรียกว่า "โอบิ" นั้นมีการดัดแปลงและเพิ่มวิธีการผูกแบบใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากมาย ทำให้การสวมใส่กิโมโนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย กลายเป็นชุดประจำชาติที่สง่างาม


                                    ที่มา     http://im-maze23.exteen.com/20081225/entry-1 

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของ การค้าระหว่างประเทศ


ความหมายของ
การค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
        1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2.
ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3.
ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง






การตลาดระหว่างประเทศ
คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ดังนั้นนักการตลาดที่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาดระหว่างประเทศจึงควรตอบคำถามพื้นฐานดังต่อไปนี้ ก่อนจะดำเนินการใดๆ ในตลาดระหว่างประเทศ
1.ธุรกิจจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้คุณค่าที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาในรูปของสินค้าหรือบริการสามารถนำเสนอต่อตลาดระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
2. ธุรกิจต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อตลาดระหว่างประเทศ
3. อุปสรรคและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในตลาดระหว่างประเทศมีอะไรบ้าง
 
ที่มา www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc


ความแตกต่างระหว่างการค้าประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศก็คือ
                 *การค้าระหว่างประเทศจะมุ่งแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการระหว่างประเทศ แต่การตลาดระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นแต่การหากำไรทางธุรกิจจากสินค้าและบริการที่ประเทศหนึ่งไปหาผลประโยชน์กับอีกประเทศหนึ่ง
 ๕การค้าระหว่างประเทศมีการแบ่งส่วนทางการค้าระหว่างประเทศต่อกันคือ ประเทศไหนมีความถนัดหรือความสามารถอะไรก็จะผลิตสินค้าหรือการบริการอันนั้น ไม่แย่งส่วนแงทางการค้าต่อกัน แต่การตลาดระหว่างประเทศมีการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดต่อกัน เพราะการตลาดระหว่างประเทศเป็นเหมือนการแข่งขันกันเพื่อที่จะมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การแต่งกายและบุคลิกภาพของพนักงานขาย

ความสำคัญของบุคลิกภาพต่องานบริการ

บุคลิกภาพ สร้างความรู้สึกต่อผู้พบเห็นว่า ชอบหรือไม่ชอบ หรือเกิดความรู้สึกต่อคน ๆ นั้นอย่างไร เช่น เป็นคนมีเสน่ห์น่าคบหาสมาคมด้วย มีสง่าน่าเกรงขาม หรือกลับเป็นตรงข้ามคือ ไม่น่าคบเสียเลย บุคลิกภาพทำให้คนเกิดความรู้สึกทางใจ ซึ่งทำให้เกิดอารมณ์แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องใช้ความคิด สติปัญญา หรือการตัดสินใจที่ต้องใช้เหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น

ลักษณะบุคลิกภาพที่ผู้ให้บริการพึงพิจารณา

นักจิตวิทยาแบ่งลักษณะบุคลิกภาพออกเป็นแบบต่าง ๆ เพื่อเลือกอธิบายตามทฤษฎีของตน ที่ใคร่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ การแบ่งบุคลิกภาพเพื่อแสดงผลดีผลเสียของแต่ละประเภท ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะดึงดูด ลักษณะเป็นกลาง และลักษณะผลักใส ซึ่งแต่ละลักษณะจะให้ผลในแต่ละสถานการณ์ต่างกันออกไป
ยังมีลักษณะที่กล่าวถึงกันมากในอีกทฤษฎีหนึ่ง แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ ลักษณะที่เก็บตัว (introvert) และลักษณะที่แสดงตัว (extrovert) และในแต่ละลักษณะมีข้อเสียรวมอยู่ด้วยกัน คนทั่วไปจะมีสองลักษณะผสมกัน แต่บางคนมีลักษณะหนักไปทางด้านเก็บตัว ซึ่งเหมาะสมสำหรับหน้าที่การงานบางอย่าง เช่น เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ นักบัญชี ฯลฯ พวกที่มีลักษณะแสดงตัวก็เหมาะแก่งานติดต่อกับบุคคลมากหน้าหลายตา เป็นบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักธุรกิจ นักการเมือง พนักงานขาย
แท้จริงแต่ละคนมิใช่จะมีลักษณะของบุคลิกภาพตามที่กล่าวถึงข้างต้นนี้เท่า นั้น ยังมีบุคลิกลักษณะอย่างหนึ่งที่โต๊ะอาหาร ในงานสังคม ในห้องประชุม กับญาติ กับเพื่อน กับคนแปลกหน้า จะมีการปรับให้เข้ากับภาวการณ์ในขณะนั้น

ผู้ให้บริการควรมีบุคลิกภาพเช่นไร

1. ส่วนเกี่ยวกับกาย ได้แก่ การมีสุขภาพพลานามัยดี แต่งกายสะอาดและเรียบร้อย กิริยาท่าทางสง่า ท่าทางร่าเริง แจ่มใส ว่องไว แต่ไม่ใช่หลุกหลิกลุกลน
2. เสียงและภาษาที่พูด น้ำเสียงแจ่มใส ชัดเจน ไม่เบาและไม่ดังเกินไป พูดจาฉะฉาน ได้เรื่องได้ราว ไม่เพ้อเจ้อหรือพูดคลุมเครือ ภาษาที่พูดเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ ใช้ภาษาเหมาะแก่บุคคลและถูกกาลเทศะ

วิธีปรับปรุงแก้ไขให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

1. การมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลน ฉะนั้น เมื่อเรามองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้
2. การแต่งกาย ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
3. การพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง (โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง) สถานที่ เวลา และโอกาส
4. การเดิน ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น ต้องเดินให้ตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ
6. ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใด ๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น
7. สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

ที่มา http://www.thaiphar-asso.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=561561&Ntype=11